เด็กเทคนิคสุราษฎร์ธานีสร้างชื่อในต่างแดน สร้างนวัตกรรมตู้อบและรมควันปลาเม็งประหยัดพลังงาน ให้ชุมชนนำไปใช้เพื่อประหยัดพลังงาน โดยใช้โซล่าเซลมาขับเคลื่อน และประหยัดเวลาในการทำงาน จาก 3-4 วันเหลือ 13 ชั่วโมง คว้ารางวัล เหรียญเงินนาชาติและรางวัลเกียรติยศ จากประเทศไต้หวัน
ปลาเม็งสุราษฎร์ธานี เป็นสินค้า GI ของสุราษฎร์ธานีที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคมาเป็นอย่างดี แต่การนำปลาเม็งมาย่าด้วยเปลือกมะพร้าวในอุณหภูมิที่พอแหมาะให้หอมและได้กลิ่นรมควันนั้นใช้เวลาในการดำเนินการที่นานมากประมาณ 3-4 วัน ที่จะได้ปลาเม็งที่มีคุณภาพและรสชาติอร่อยอีกทั้งราคาถือง่าอยู่ในเกรณ์ ที่สูงมากประมาณกิโลกรัมละ 2500 บาท หากเป็นปลาเม็งสดราคาก็จะต่ำลงมาอีก ส่วนใหญ่ปลาเม็งรมควันจะนำไปต้นโคล่ง ยำปลาเม็ง หรือแกงกะทิประลาเม็ง เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการลดระยะเวลาในการดำเนินการยางปลาเม็งให้น้อยลงแต่คุณภาพยังเหมือนเดิมทางนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีจึงได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่เป็นตู้อบและรมควันปลาเม็งประหยัดพลังงานขึ้นมา อีกทั้งยังสร้างผลงานไปนำเสนอในงานแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม Chinese Innovation &Invention Society Taiwan ได้รับรางวัล Silver Award และรางวัล Special Award เป็นรางวัลเหรียญเงินนานาชาติและรางวังเกียรติยศ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทสไทยและจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เป็นอย่าน่าภาคภูมิใจ
นายศตคุณ สุขเจริญ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สาเหตุที่ทำตู้อบและรมควันปลาเม็งขึ้นมาเนื่องจากเห็นสภาพปัญหาของการย่างลาเม็งในการย่างแต่ละครั้งจะต้องใช้ระยะเวลาในการย่างนานประมาณ 3-4 วันโดยย่างบนโอ่งน้ำที่ทำเป็นที่ย่างปลา ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรอีกทั้งพอจะนำไปเข้าความสะอาดด้านอาหารก็ไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากมีถ่าน มีควันและมีฝุ่น ซึ่งนวัตกรรมชิ้นนี้จะทำให้ชุมชนได้ใช้ในการอบปลาเม็ง จากเดิมที่ใช้เวลา 3-4 วันแต่เมื่อมาใช้ตู้อบตัวนี้จะเหลือเพียง 13 ชั่วโมงเท่านั้น อีกทั้งจะได้ความสะอาดจากการอบเนื่องจากเป็นระบบปิดไม่มีควันหรือฝุ่นเข้าไป ซึ่งตัวเชื้อเพลิงก็จะอยู่ในถังอีกตัวหนึ่งเมื่อจุดไฟควันก็จะไหลไปตามท่อ ตู้อบก็จะดูดควันเข้ามาที่ตัวปลาเม็ง ซึ่งพลังงานที่ใช้จะได้จากโซล่าเซล โดยใช้ควันเป็นตัวอบความร้อนหลังจากนั้นก็จะหมุนกลับมายังตัวจุดเชื้อเพลิงหมุนเวียนกันไปทำให้ได้ปลาเม็งที่มีคุณภาพและสะอาด เป็นผลิตภัณฑ์ปลาเม็งที่ได้รับมาตรฐาน อย.และ GMP สามารถที่จะจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย
ซึ่งตู้อบตัวนี้ออกแบบโดยการควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ซึ่งจะช่วยให้ปลาเม็งรมควันได้คุณภาพและมีความหอมมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถที่จะนำไปอบควันอาหารชนิดอื่นๆได้อีกอาทิ ไส้กรอง ปลาชะโอน ตู้อบตัวดังกล่าวทางวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีได้มอบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้บ้านห้วยทราย ต.ทรัพย์ทวี อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมของชุมชน